สินทรัพย์ค้ำประกัน หรือ Collaterals เป็นปัญหาหนักใจของ SME หลายๆ ราย เนื่องจาก SME ส่วนใหญ่ แม้มีผลประกอบการที่ดี มีประสบการณ์และความสามารถในการบริหารธุรกิจให้เติบโตไปได้ แต่ก็มักประสบปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับจัดหาแหล่งเงินทุน (Source of fund) ทางเลือกของผู้ประกอบการในการจัดหาแหล่งเงินทุนในปัจจุบันคือ ธนาคารพาณิชย์ ที่ส่วนมากมักมีเงื่อนไขที่ยากต่อความสามารถของ SME หลายๆ ราย บางครั้งทำให้ผู้ประกอบการที่ไม่มีทางเลือก ต้องเลือกวิธีกู้ยืมเงินจากการกู้นอกระบบ (Loan shark) ที่มีอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมที่สูง และยังไม่ได้รับความคุ้มครองจากภาครัฐอีกด้วยนั่นเอง
แม้แต่การกู้ยืมเงินจากนายทุนนอกระบบ สินทรัพย์ค้ำประกันก็ยังเป็นเงื่อนไขจำเป็นในการขออนุมัติสินเชื่อเพื่อธุรกิจ แล้วนอกจากทรัพย์สินจำพวกอสังหาริมทรัพย์ (Immovable assets) เช่น ที่ดิน อาคาร ตลอดจน Movable Assets หรือ สังหาริมทรัพย์ เช่น รถยนต์ ยังมีทรัพย์สินอื่นๆ ที่ผู้ขออนุมัติเงินกู้สามารถยื่นเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันกับทางธนาคารได้ โดยวงเงินในการอนุมัติสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการก็จะถูกจำกัดตามมูลค่าของทรัพย์สิน (ราคาตลาด หรือ Market price) ที่นำมาค้ำประกัน โดยวิธีการคำนวนการให้วงเงินก็จะแตกต่างกันออกไป ตัวอย่างของทรัพย์สินที่สามารถนำมาใช้ค้ำประกันเพื่อขออนุมัติสินเชื่อได้ที่ผู้อ่านอาจจะยังไม่ทราบ ได้แก่
- เงินฝากประเภทใดประเภทหนึ่งที่มีอยู่กับธนาคาร
- พันธบัตรรัฐบาล หรือเอกชน
- หน่วยลงทุนของกองทุนที่มีนโยบายลงทุนใน Bond หรือตั๋วเงินคลัง
- หลักทรัพย์ที่อยู่ในความต้องการของตลาด เช่น หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หุ้นกู้ ตราสารหนี้
- สิทธิการเช่าที่เปลี่ยนมือได้
- เครื่องจักร
- สินค้าคงเหลือ
- ลูกหนี้การค้า (วงเงินแฟคตอริ่ง (Factoring))
อย่างไรก็ตาม อย่างที่ผู้เขียนกล่าวไว้ข้างต้น เนื่องจาก SME ส่วนมากเติบโตมาจากผู้ประกอบการที่อาจจะไม่มีเงินทุนมากนัก การเริ่มต้นธุรกิจอาจมาจากการเช่าอาคาร หรือทรัพย์สินในการดำเนินกิจการ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าธุรกิจ SME เหล่านั้นไร้ซึ่งศักยภาพในเชิงการทำธุรกิจแต่อย่างใด แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีผู้ประกอบการหลายๆ รายอาจประสบปัญหาหนักใจจากการขออนุมัติสินเชื่อเพื่อขยายศักยภาพของธุรกิจจากภาคส่วนที่มีเงื่อนไขที่ยากต่อการเข้าถึงอยู่ก็เป็นได้ ใปัจจุบันการประเมิณความสามารถของผู้ประกอบการ SME ไม่จำเป็นต้องติดอยู่กับทรัพย์สินที่ SME เป็นเจ้าของอีกต่อไป ด้วยเทคโนโลยี (Technology) และนวัตกรรม (Innovation) ทางการเงินที่ก้าวหน้า ประกอบกับกฎหมายการเข้าถึงข้อมูลทางการเงินของกฎหมายส่งเสริมการประกอบธุรกิจและการเข้าถึงบริการของประชาชนด้วยเทคโนโลยีทางการเงิน หรือ ฟินเทค (Fintech) ทำให้ผู้ให้เกิดผู้ให้บริการใหม่นำนวัตกรรมทางการเงินและข้อกฎหมายที่สนับสนุนและคุ้มครองความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ กำเนิดนวัตกรรมการกู้ยืมเงินรูปแบบใหม่ ที่ช่วยประหยัดเวลาในการขออนุมัติสินเชื่อกู้ยืมเพื่อธุรกิจได้ ทั้งยังสะดวก ผู้กู้ไม่ต้องใช้สินทรัพย์ค้ำประกันในการขอสินเชื่อและยังมีเงื่อนไขที่น้อยกว่าสถาบันการเงินขนาดใหญ่ โดยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมฟินเทค (Fintech) เข้ามาช่วยเพิ่มศักยภาพให้การกู้ยืมเงินตลอดจนการลงทุนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยแพลทฟอร์มการกู้ยืมเงินแบบนี้มีชื่อว่า Peer-2-Business Lending (P2B) หรือ Peer-to-Peer Lending (P2P) นั่นเอง ซึ่งแพลทฟอร์มการกู้ยืมเงินนี้ มีความสามารถอย่างหนึ่งที่จะช่วยผู้กู้นั่นก็คือ การไม่ต้องใช้สินทรัพย์ค้ำประกันในการขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจ ตลอดจนการขอสินเชื่อบุคคลนั่นเอง โดยด้านภาครัฐก็มองเห็นความจำเป็นของเครื่องมือทางการเงินนวัตกรรม Fintech นี้ ทำให้ในอีกไม่นาน กฎหมายที่จะทำให้ Peer-to-Business Lending Platform สามารถให้บริการได้เร็วๆ นี้